Data Scientist
Data Scientist
“Digital Transformation” เมื่อ 2 ปีที่แล้ว คำนี้ ถูกพูดถึงกันเยอะมาก หลายคนก็ไม่เข้าใจว่ามันจะต้องเป็นอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง มีผลอะไรกับอาชีพการงานไหม ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมเพื่อรองรับนโยบายนี้บ้าง มาถึงตอนนี้เกือบทุกคนน่าจะคุ้นเคยแล้ว และอาจจะเข้าใจมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่อาชีพ และบทบาทของตนเอง แต่ช่างเถอะเพราะวันนี้ เราจะมาพูดถึงคำว่า “Data Scientist” กัน เค้าผู้ซึ่งใช้ความอัจฉริยะในการจัดการข้อมูลบนโลก cyber อันนำมาซึ่งมูลค่าซื้อขายเม็ดเงินจำนวนมาก แน่นอนมีคำ 4 คำนี้เกี่ยวข้องด้วย “Era of SMIC” ซึ่งตัวอักษรทั้ง 4 นี้ย่อมาจากคำว่า
S- Social network
M - Mobile
I - Big Data Information
C - Cloud
ใช่ค่ะ ทุกคำเรารู้จักดี เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน ณ วันนี้ คือเดือน พค. 2560 คนไทยถือครอง smart phone ถึง 100 ล้านเครื่อง จากจำนวนประชากรไทยประมาณ 65.7 ล้านคน (ข้อมูลปี 2558)ใช้เวลาเล่นอินเตอร์เน็ตกันเฉลี่ยวันละ 6 ชม. ส่วนมากใช้ทำธุรกรรมการเงิน, ทำงาน เช็คอีเมลล์, ฝากข้อมูลเอาไว้บนคลาวด์ (เช่น iCloud, GoogleDrive, OneDrive, Dropbox เป็นต้น), ขายสินค้าออนไลน์, ช๊อปปิ้งออนไลน์, คุยไลน์ (คนไทยมีประมาณ 33 ล้าน accounts), เล่นเฟซบุ๊ค (คนไทยมีประมาณ 42 ล้าน accounts) เล่นอินสตาแกรม เป็นต้น ทุกเวปที่เข้าไปใช้ต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงการกรอกรสนิยม สิ่งที่สนใจ ไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เพื่อสมัครเป็นสมาชิก ข้อมูลมหาสารเหล่านี้จึงหลั่งไหลเข้าระบบของผู้ให้บริการ กลายมาเป็น “Big Data” และสามารถนำมาพัฒนาการตลาดได้อย่างดี บริษัท องค์กร ร้านค้า โรงแรม และอุตสาหกรรมการให้บริการต่างๆ จึงหันมาสนใจให้ความสำคัญในเรื่องพัฒนาการตลาดผ่านสื่อโซเชียล ใช้เครื่องมือนี้ในการจัดแคมเปญน์การตลาดอย่างหนัก และให้ประสิทธิผลเป็นอย่างสูง หรือให้พูดอีกที เรากำลังอยู่ในยุค Digital Economy โดยไม่รู้ตัว ...
ตัวอย่างง่ายๆที่บางท่านน่าจะเคยเจอ เช่น เราชอบเข้าเวปร้านค้าออนไลน์แห่งหนึ่ง และชอบเปิดดูแคตตาล๊อก เลือกเช็คราคาสินค้าต่างๆ ดูเพลินๆ วนๆไปเป็นเดือน หลังๆชักเริ่มสังเกตุว่า ทุกครั้งที่เราเปิดอินเตอร์เน็ต เราจะเห็นเวปร้านค้านี้โผล่มาปรากฏอยู่ที่ขอบจอเป็นประจำทั้งๆที่เราก็ไม่ได้อยากจะให้มันโผล่ออกมาหน้าจอหรอกนะ เราก็งงไปสิว่า เอ๊ะ ตามเข้ามาโฆษณาในนี้ได้ไง นั่นเพราะระบบเก็บข้อมูลเราเอาไว้ และคอยเฝ้ามองพฤติกรรมเราอยู่นั่นเอง... ก็เป็นลูกเล่นหนึ่งของผู้ค้า บางเวปนี้ ถ้าเราใช้วิธี sign in ด้วย facebook account อันนี้ใช่เลย ดูสะดวกดี แต่มันจะดีหรอ...
หรือเอาแบบชัดๆ พ่อบ้าน แม่บ้าน นั่งคู่กันเปิดมือถือ ใช้ log in ของตัวเองเปิดเวปร้านค้าออนไลน์ร้านเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน แต่ได้คำแนะนำ ภาพสินค้าโชว์ที่หน้าจอต่างกัน หรือการฟีดโปรโมชั่นที่ไม่เหมือนกัน เพราะอะไร ทำไมถึงรู้ว่าเรากำลังอยากจะซื้อสินค้าตัวนี้ล่ะ รู้ใจเราจัง ... ก็เพราะระบบมีการวิเคราะห์ และจดจำพฤติกรรมการซื้อสินค้าตามยี่ห้อ รสชาด รสนิยม เพศ วัย หรือแม้กระทั่งการซื้อสินค้าเข้าบ้านในแต่ละเดือนอย่างชาญฉลาดนะสิคะ ทำให้ง่ายต่อการจัดโปรโมชั่นสินค้า เช่นซื้อตัวนี้ แลกซื้อตัวนั้นไปด้วยในราคาประหยัดขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ หรือซื้อตัวนี้ 3 ชิ้น แลกซื้อฟรีตัวโน้น 1 ชิ้น เป็นต้น ก็จะเกิดการจัดรายการของผู้ค้ากันเองแบบขอพ่วงขายไปด้วย ก็จะทำให้ยอดขายสินค้าบางตัวพลอยสูงขึ้นตามไปด้วย
หรืออีกกรณีหนึ่ง เคยสังเกตุไหมเข้าไปบางเวปจะขอ access location เราตลอด นั่นแปลว่าเค้าเก็บข้อมูลสถานที่ที่เรามักจะไป เก็บข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า เก็บข้อมูลอาหารที่เรามักจะสั่งมาทาน ข้อมูลการท่องเที่ยว ชีวิตประจำวัน หนังที่เราดู เพลงที่เราฟัง บลาๆๆๆ ข้อมูลพวกนี้มหาศาลมาก มันผูกกับ profile เราอยู่ ข้อมูลสถิติแบบนี้เหมาะมากสำหรับให้ “Data Scientist” นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นำไปยำ และวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายแผนการตลาด และกำหนดแคมเปญน์ต่างๆเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ
เห็นไหมคะ ข้อมูล Big Data ผนวกกับ SMIC นำไปสู่ Digital Economy ซึ่งข้อมูลสำคัญเชิงวิเคราะห์สถิติแบบนี้ เป็นความอัจฉริยะของระบบการจัดเก็บ, การจัดการ และผนวกกับความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ล้วนๆ จึงไม่แปลกใจว่าค่าตัวเค้าในระดับ senior เฉลี่ยถึงเดือนละ 280,000 บาท, ในระดับ middle เฉลี่ยเดือนละ 216,000 บาท และ ในระดับ junior (ประสบการณ์ 2 ปี) เฉลี่ยเดือนละ 120,000 บาท (เรทเงินเดือนในสิงคโปร์ ทั้งนี้ยังไม่รวม bonus ปีละประมาณ 420,000 บาท)
ใครอยากรู้ว่าจะเป็น Data Scientist ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ตามไปดูใน link นี้นะคะ เป็นสไลด์ของ Ryan Orban/Zipfian Academy
http://datascience.in.th/how_to_become_ds/
by Orapin/ViewSecure
ที่มา: www.datascience.in.th, ACIS professional center, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, Tech Talk Thai
picture by : Swami Chandrasekaran
22 พ.ค. 2560
ผู้ชม 7569 ครั้ง